สร้างบ้านด้วยดิน

Earth-house

หลายๆ คนคงเคยได้ยินว่ามีการสร้างบ้านจากดินกันมาบ้างนะ ทั้งนี้ บ้านดิน นั้นไม่ใช่แค่การสร้างบ้านด้วยดินเพียงอย่างเดียวอย่างที่หลายๆ คนเข้าใจ แต่เป็นการสร้างบ้านจากวัสดุธรรมชาติซึ่งหาได้จากท้องถิ่นนั่นเอง จึงทำให้การสร้างบ้านดิน มีข้อดีคือ ราคาถูก , สร้างบ้านได้ด้วยตัวเอง , ช่วยลดการใช้พลังงาน , เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้บ้านดินอุณหภูมิภายในบ้านยังมีความเย็นพอเหมาะกับการอยู่อาศัยด้วย

บ้านดินจะมีลักษณะเป็นบ้านหลังเล็กๆ รูปร่างคล้ายกระท่อม แต่มีจุดเด่นที่ไม่เหมือนใคร คือ สร้างจากดินจริงๆ จึงทำให้อุณหภูมิเย็นสบายตลอดทั้งวัน และช่วยประหยัดงบประมาณในการก่อสร้างได้มาก

วิธีการสร้างบ้านดิน

  • เริ่มจากการสร้างก้อนอิฐดินกันก่อนด้วยการนำบล็อคไม้ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับชั้นวางหนังสือนำดินอัดเข้าไปตามบล็อคให้แน่นๆ พออัดจนแน่นเต็มที่แล้ว ให้นำไปตาก 15 วัน เพื่อให้ก้อนดินแห้งสนิท
  • พอแห้งแล้วก็นำก้อนอิฐดินมาก่อให้เป็นบ้านได้เลย โดยให้วางแผนโครงบ้านเสียก่อนว่าอยากได้ทรงไหน หรือ ขนาดเท่าไหร่ ภายในบ้าน 1 หลังอย่าลืมแบ่งเป็นส่วนของห้องน้ำ 1 ห้องด้วย การก่ออิฐดินก็ให้วางซ้อนกันธรรมดา และใช้โคลนที่นำมาปั้นก้อนอิฐเป็นตัวเชื่อมประสานแทนปูน
  • เมื่อก่ออิฐดินได้ระดับที่ต้องการแล้วก็ถึงเวลาของการทำโครงหลังคา ซึ่งถ้าคุณทำหลังเล็กไม่ใหญ่มากจึงไม่มีเสาก็ให้วางโครงหลังคาที่ทำจากไม้วางบนผนังเลย
  • ต่อมาคือการมุงหลังคา ให้คุณผสมดินที่นำมาทำก้อนอิฐดินนั่นแหละ มาป้ายทาบนวัสดุรอง โดยนำตัดไม้มารองแล้วฉาบด้วยซีเมนต์ แต่สำหรับผู้ที่ต้องการอยู่อาศัยบ้านดินไปอีกยาวนาน ไม่ควรทำหลังคาในลักษณะนี้ เนื่องจากปลวกจะมาเจาะไม้ หากดูแลไม่ดีปลวกจะกินหมด เพราะฉะนั้นควรใช้วัสดุมุงหลังคาทั่วไปจะดีกว่า
  • ส่วนบริเวณตัวบ้านเมื่อก่ออิฐจนพอใจแล้ว ให้ผสมดินเหนียวแล้วนำมาฉาบทาผนังให้เรียบเนียน ฉาบตกแต่งให้เรียบร้อย และอย่าลืมเจาะรูพนังเพื่อระบายอากาศด้วยนะ
  • การทำห้องน้ำ ต้องใส่ใจในการกันความชื้นให้ดีโดยการติดกระเบื้องที่ผนัง เป็นการป้องกันการเซาะกร่อนของดินเวลาโดนน้ำบ่อยๆ

Earth-house-

ข้อดีของบ้านดิน

  • สร้างง่ายไม่ต้องใช้เทคนิคขั้นสูง
  • ราคาถูก
  • ผนังเป็นฉนวนสามารถกันได้ทั้งร้อนและกันหนาว
  • วัสดุมาจากธรรมชาติ ถ้าวันหนึ่งไม่ใช้ก็สามารถเปลี่ยนวัสดุกลับคืนสู่ธรรมชาติได้อย่างง่ายดาย
  • ช่วยลดโลกร้อน

ข้อเสียของบ้านดิน

  • อาจฝุ่นจากผนังดิน
  • กันลม,แดดได้แต่ไม่กันน้ำท่วม จึงเหมาะกับบริเวณเขาสูง
  • บางจุดอาจเป็นแหล่งสะสมราหรือแบคทีเรียบางชนิด
  • บริเวณที่ชื้นมาก เช่น แถวโคนผนังส่วนที่ติดกับห้องน้ำ อาจมีเห็ดขึ้นได้ง่าย