รายละเอียดที่ควรรู้ก่อนจ้างสถาปนิกมาออกแบบบ้านในฝัน

การสร้างบ้านไม่ใช่เรื่องเล็กๆ หากแต่เป็นเรื่องใหญ่ซึ่งต้องใส่ใจในทุกขั้นตอน รวมทั้งรายละเอียด เนื่องจากขั้นตอนบางอย่างถ้าเราเผลอหลงลืมมันไป หรือทำแบบลวกๆก็อาจนำมาซึ่งความเดือดร้อนในภายหลังได้ โดยเฉพาะในขั้นตอนการออกแบบบ้าน ด้วยเหตุนี้หลายๆ คน จึงต้องการ ‘สถาปนิก’ มาเป็นผู้ช่วยในการสร้างบ้านในฝันให้ประสบความสำเร็จ สถาปนิก จะเข้ามาร่วมกำหนด ความต้องการของเราว่าต้องการให้ออกมาในรูปแบบใด รวมถึงงบประมาณในการสร้างบ้านด้วย

อาชีพ สถาปนิก เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่ จำเป็นต้องมีใบประกอบวิชาชีพ มีทั้งสถาปนิก Freelance และสถาปนิกรูปแบบบริษัท ภารกิจหลักของพวกเขา คือ ออกแบบบ้านตามความต้องการของเจ้าของบ้าน โดยคำนึงถึงการใช้งานไปพร้อมๆกับความสวยงาม อีกทั้งยังมีหน้าประสานงานกับฝ่ายต่างๆ ให้งานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย คือติดต่อ วิศวกร , มัณฑนากร , ช่างเขียนแบบ รวมทั้งหน้าที่ ทำแบบก่อสร้างเอกสาร เพื่อนำไปประกวดราคากับผู้รับเหมา พร้อมเข้ามาตรวจสอบหน้างานเป็นระยะๆด้วย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับข้อตกลงตามสัญญาว่าจ้างด้วย เช่น เข้ามาเช็คเดือนละ 2 ครั้ง , เช็คเดือนละ 1 ครั้ง เป็นต้น จนบ้านสร้างเสร็จ สถาปนิก จะต้องเป็นผู้ที่อยู่กับเราไปอีกนานแสนนานจนกว่าบ้านจะเสร็จ เพราะฉะนั้น คุณควรเลือกสถาปนิกที่มีความรับผิดชอบ , พร้อมประสบการณ์ , และความเข้าใจ และสำคัญที่สุดคือต้องมีใบประกอบวิชาชีพ

Architects-pic

การจ้างสถาปนิก ก็จำเป็นต้องมีการเซ็นสัญญาว่าจ้าง เพื่อประโยชน์ของทั้ง 2 ฝ่าย ใช้เป็นหลักฐานในการจ้างงาน รวมทั้งการคิดค่าบริการวิชาชีพ

สัญญาจ้างงานจะถูกจัดทำขึ้นโดยสถาปนิก ซึ่งต้องมีการพูดคุยถึงเรื่องข้อตกลงกันก่อน จะลงมือร่างสัญญาทั้งต่อตัวผู้ว่าจ้าง และผู้รับจ้าง รวมทั้งต้องมีพยานเซ็นรับรองเอกสารเป็นการตบท้าย จึงจะสบบูรณ์ โดยตัวเอกสารนี้ทั้งเจ้าของบ้านและสถาปนิกจะเก็บอย่างละชุด

หัวข้อหลักในเอกสารสัญญาว่าจ้าง

  • เขียนถึงรายละเอียดส่วนตัวระหว่างผู้ว่างจ้าง กับผู้รับจ้าง เช่น ชื่อ , ที่อยู่ , เบอร์โทร , อีเมล์ เป็นต้น
  • วางขอบเขตของงาน เป็นการกำหนดขอบเขตงานซึ่งสถาปนิกจะต้องทำหน้าที่รับผิดชอบ เช่น การออกแบบสถาปัตยกรรม , งานวิศวกรรมงานระบบ เป็นต้น
  • แผนงานที่บอกว่าจะดำเนินการอย่างไรบ้าง , การวางเค้าโครงงาน , แบบร่าง , แบบแปลนการก่อสร้าง , การประกวดราคา , การก่อสร้าง รวมทั้งการส่งมอบเอกสาร
  • การจ่ายค่าบริการวิชาชีพ ข้อตกลงในเรื่องการทยอยจ่ายค่าบริการวิชาชีพตามแต่ละงวด โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ตามที่ตกลงกันไว้

ข้อตกลงอื่นๆ ที่ผู้ว่าจ้างต้องการเป็นพิเศษ ยกตัวอย่างเช่น รายละเอียดของตัวแบบรวมทั้งกรรมสิทธ์บ้าน , การเปลี่ยนแปลง , การยกเลิกสัญญาว่าจ้าง , การผิดสัญญาการทำงาน , ระยะการทำงาน เป็นต้น